- Blog
- Custom Scar Planning
- May 7, 2021
ฝ้า กระ
หมอปอร์เช่
นพ. สราวุธ เหล่ากิจรุ่งโรจน์
แพทย์ผู้ก่อตั้ง DSK Clinic
สารบัญ
ฝ้า กระ มีกี่ประเภท รักษาอย่างไร?
ปัญหาเม็ดสีผิดปกติบนผิวหน้าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในคนไทย คำถามยอดฮิตของคนไข้ก็คือ ฝ้า กระ รักษาอย่างไร? ปัญหานี้ค่อนข้างจะตอบยากนิดหน่อย เพราะ ฝ้าและกระนั้นรักษาไม่เหมือนกันเลย ตัวกระเองก็ยังจะแยกออกไปเป็นหลายๆ ประเภททำให้รายละเอียดในการรักษาค่อนข้างซับซ้อน วันนี้เลยอยากจะขอมาอธิบาย เรื่องฝ้า กระ ให้กระจ่างในบทความนี้ ไปอ่านกันเลย
วินิจฉัยให้ถูกต้อง เพราะรักษาต่างกัน
เมื่อคนไข้มาด้วยปัญหารวม ๆ คือฝ้า กระ สิ่งที่หมอต้องทำคือ การวินิจฉัยให้ถูกต้อง เพราะกระและฝ้านั้นรักษาคนละแบบ หากรักษาผิดทิศทางก็อาจจะทำให้ปัญหาไม่หาย แถมยังแย่ลงอีก เช่น
- กระลึก กระตื้น กระแดด จะเน้นไปที่การใช้เลเซอร์ที่เฉพาะเจาะจงต่อเม็ดสี
- กระเนื้อ ใช้เลเซอร์ที่ทำลายเนื้อเยื่อ
- ฝ้า เนื่องจากไม่ได้ผิดปกติแค่ที่เม็ดสี แต่เซลล์สร้างเม็ดสียังทำงานมากเกินไป จึงจำเป็นต้องใช้ยาทา ยารับประทาน หรือเสริมการรักษาให้ดีขึ้นด้วยการผลัดเซลล์ผิวเก่าด้านบนออก หรือใช้เลเซอร์
ฝ้า (Melasma)
ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้นขนาดใหญ่สีน้ำตาล มักเกิดในบริเวณที่สมมาตร เช่น โหนกแก้มทั้งสองข้าง ดั้งจมูก เหนือริมฝีปาก หรือแนวขากรรไกรทั้งสองข้าง ฝ้ามีหลายชนิด ได้แก่ ฝ้าตื้น ฝ้าลึก และฝ้าเลือด ก็คือฝ้าที่มีเส้นเลือดเล็ก ๆ ผสมอยู่
ฝ้าเกิดจากอะไร?
ฝ้า เกิดจากเซลล์เม็ดสีทำงานมากผิดปกติ (Melanocyte Hyperfunction) โดยมีปัจจัยหลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ทราบในปัจจุบันได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมนจากยาคุมกำเนิดหรือการตั้งครรภ์ แสงแดด และยาบางประเภท เช่น ยากันชัก
ฝ้ารักษาอย่างไร?
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ฝ้าไม่ใช่ความผิดปกติจากการมีเม็ดสีเยอะเท่านั้น แต่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีด้วย ดังนั้นการรักษาจึงไม่สามารถทำได้ด้วยการลอกฝ้าออกอย่างเดียว เพราะต่อให้ลอกฝ้าออกไป แต่เซลล์เม็ดสีก็จะสร้างเม็ดสีใหม่ขึ้นมาได้เหมือนเดิม หรืออาจจะมากกว่าเดิม การรักษาฝ้าจึงต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบบเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เพื่อจัดการกับสาเหตุอย่างตรงจุด
การรักษาฝ้า
หาและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นฝ้า
พันธุกรรม ฮอร์โมน แสงแดด และยา คือ 3 สิ่งที่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นฝ้า หรือกระตุ้นโรงงานสร้างเม็ดสีให้สร้างเม็ดสีมากผิดปกติจนเกิดฝ้าขึ้น
พันธุกรรม ไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ในปัจจุบัน สิ่งที่ทำได้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เหลือ เช่น ฮอร์โมน
หากแพทย์วินิจฉัยว่ายาเม็ดคุมกำเนิดมีผลต่อการเกิดฝ้า อาจแนะนำให้เปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมน
แสงแดด เป็นปัจจัยกระตุ้นฝ้าที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่คนเป็นฝ้าควรหลีกเลี่ยง เริ่มที่การป้องกันเชิงกายภาพ เช่น การใส่หมวก ถือร่ม การเดินหลบแดด เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ต้องย้อนกลับมาถามว่า ทำได้ดีพอหรือยัง อีกสิ่งที่จำเป็นคือ การทากันแดด พบว่าคนไข้ 99% ทาผิดวิธี ทำให้ประสิทธิภาพในการกันแดดไม่ได้ผล เริ่มตั้งแต่การเลือกครีมกันแดดผิด ทาปริมาณผิด และความถี่ไม่เหมาะสม จนอาจทำให้ทาแต่เหมือนไม่ได้ทา
ใช้ตัวยาที่ช่วยลดการสร้างเม็ดสี
การรักษาฝ้าให้ได้ผลจำเป็นต้องใช้ยาที่ช่วยลดเม็ดสี และอาจใช้ยาหรือเครื่องสำอางหลายชนิดร่วมกัน แนะนำให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะต้องอาศัยความรู้และความชำนาญในการปรับยาเพื่อให้ได้ผลและไม่กลับเป็นซ้ำ
ตัวยาที่ใช้ในการรักษาฝ้ามากที่สุดคือ Hydroquinone ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐาน และเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่หากใช้อย่างผิดวิธี ก็อาจทำให้เกิดฝ้าถาวร จึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
การรับประทานยา
ปัจจุบันมีแพทย์หลายคนสนับสนุนการใช้ Tranexamic acid ชนิดกินในการรักษาฝ้า เนื่องจากประสิทธิภาพสูง และมีผลข้างเคียงต่ำ
ปัจจุบันมีหลากหลายงานวิจัยขนาดที่น่าเชื่อถือออกมาสนับสนุนการใช้ยาดังกล่าวในการรักษาฝ้าเช่นกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากแพทย์ต้องดูว่าผู้ป่วยแต่ละรายเหมาะสมกับการได้รับยาหรือไม่ มีข้อห้ามในการใช้ยาหรือไม่ และสมควรใช้ยามากน้อย หรือระยะเวลานานเพียงใด
การผลัดเซลล์ผิว (Chemical Peeling)
คือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดอ่อนบางชนิด เช่น Glycolic acid, Salicylic acid, Trichloroacetic acid หรือการใช้กรดหลายชนิดร่วมกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดชนิดและความเข้มข้นให้เหมาะสมกับแต่ละปัญหาผิวที่ต่างกัน พบว่าฝ้าตอบสนองต่อตัวยาเหล่านี้ได้ดี
การฉีดฝ้า
คือการฉีดยาที่ช่วยลดเม็ดสีเข้าไปในชั้นผิวหนัง เพื่อช่วยให้การสร้างเม็ดสีลดลง ป้องกันการเกิดฝ้าใหม่
เลเซอร์
เลเซอร์ถือเป็นปัญหาของการรักษาฝ้าในปัจจุบัน เนื่องจากคนไข้จำนวนมากคิดว่ายิงเลเซอร์ให้ฝ้าหลุดไป แล้วฝ้าจะหาย หลายครั้งคนไข้ก็เข้ามาหาหมอด้วยฝ้าที่เข้มขึ้นหลังเลเซอร์
เนื่องจากฝ้าเป็นความผิดปกติของโรงงานสร้างเม็ดสี ดังนั้นการยิงเลเซอร์ผิดชนิด ผิดเทคนิค อาจกระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้นได้ ปัจจุบันเลเซอร์ที่มีงานวิจัยในการรักษาฝ้าสูงสุดคือ การใช้เทคนิค Low-Fluence Laser Toning ด้วยเลเซอร์กลุ่ม Q-switched NdYAG Laser
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ไม่ใช่ Q-switched NdYAG Laser ทุกเครื่องสามารถรักษาฝ้าได้ เลเซอร์กลุ่ม Q-Switched เครื่องแรกและเครื่องเดียวในปัจจุบันที่ทาง USFDA ให้การรับรองในเรื่องการรักษาฝ้า คือ SpectraXT Laser
SpectraXT Laser เป็นเลเซอร์ที่ DSK D-Skin Clinic เลือกใช้ ผ่านการรับรองด้านการรักษาฝ้าจาก อย. สหรัฐอเมริกา (USFDA) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดในการรับรองเครื่องเลเซอร์
ทั้งนี้ประสิทธิภาพในการรักษาฝ้ายังขึ้นกับการเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับชนิดของฝ้าอีกด้วย โดยทั่วไปหากเป็นฝ้าตื้น อาจจางได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ทาครีมกันแดด ทายา และการผลัดเซลล์ผิว แต่หากเป็นฝ้าลึก การใช้ยาทาอาจไม่เพียงพอ ทำให้ต้องใช้การกินยา เลเซอร์ หรือการฉีดฝ้าร่วมด้วย
กระ
กระตื้น (Freckle)
มักเริ่มเป็นในวัยรุ่นถึงวัยทำงานตอนต้น มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน ขอบเขตชัด ขนาด 2-4 มม. มักพบบริเวณที่สัมผัสแสงแดด เช่น แก้ม โหนกแก้ม สันจมูก
มักรักษาด้วยยาไม่ได้ผล การรักษาต้องอาศัยเลเซอร์ที่จำเพาะต่อเม็ดสีชั้นตื้น เช่น SpectraXT 532 nm โดยมักหายไป 50-80% จากการเลเซอร์ 1 ครั้ง กระแตกต่างจากฝ้าตรงที่เมื่อหายไปแล้วมักหายไปเลย แต่หากโดนแดดมาก กระเม็ดอื่นก็อาจขึ้นมาใหม่ได้
กระแดด (Solar lentigo)
มักเริ่มเป็นในวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ อาจเป็นจุดเล็ก หรือปื้นใหญ่ เรียบ ไม่นูน และขอบเขตชัด
มักรักษาด้วยยาไม่ได้ผล การรักษาต้องอาศัยเลเซอร์ที่จำเพาะต่อเม็ดสีชั้นตื้น เช่น SpectraXT 532 nm โดยมักหายไป 50-80% จากการเลเซอร์ 1 ครั้ง กระแตกต่างจากฝ้าตรงที่เมื่อหายไปแล้วมักหายไปเลย แต่หากโดนแดดมาก กระเม็ดอื่นก็อาจขึ้นมาใหม่ได้
กระลึก (Nevus of Hori)
มักเริ่มเป็นในวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ อาจเป็นจุดเล็ก หรือปื้นใหญ่ เรียบ ไม่นูน และขอบเขตชัด
การรักษากระลึก ต้องอาศัยเลเซอร์ที่จำเพาะต่อเม็ดสีชั้นลึก เช่น SpectraXT 1064 nm
กระลึกต้องอาศัยการรักษาหลายครั้ง ส่วนใหญ่ต้องรักษา 6-10 ครั้ง ห่างกันทุก 2 เดือน
กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis)
กระเนื้อ แตกต่างจากกระตื้นและกระแดดที่เกิดจากเม็ดสีที่ผิดปกติ แต่กระตื้นเป็นกลุ่มเนื้องอกที่ไม่อันตราย มักเกิดในวัยกลางคนอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจเกิดตั้งแต่วัยรุ่นได้
เนื่องจากกระเนื้อไม่ได้เกิดจากเม็ดสีที่ผิดปกติ การรักษาจึงไม่ได้ใช้เลเซอร์ที่จำเพาะต่อเม็ดสี แต่จะใช้เลเซอร์ที่ทำลายเนื้อเยื่อ เช่น CO2 Laser
โดยจำนวนครั้งในการรักษาคือ 1 ครั้ง